OPEN CALL
LOGIN
REGISTER
FEATURED WORKS
ARTISTS
EXHIBITIONS
E-MAGAZINES
THE GALLERY
I Am Not A Robot
September 8, 2024
I Am Not A Robot เป็นชุดภาพถ่ายที่อยู่ภายใต้โครงการศิลปะภาพถ่ายที่ชื่อ COPIES โดยศิลปินชาวกรีซที่ชื่อ คอสติส อาร์จิเรียดิส ที่พรรณนาการสูญเสียความเป็นอัตลักษณ์ของมนุษย์ด้วยเหตุปัจจัยหลากหลายที่หลั่งไหลมากระทบ โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลง และก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เป็นตัวเร่งให้เกิดสภาวะการไร้ตัวตนของมนุษย์ ผลิตผลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากการพัฒนาในเรื่องต่าง ๆ การผลิตซ้ำที่ง่ายดายและแสนอำมหิต แรงงานมนุษย์ถูกกวาดล้างไปด้วยเครื่องจักรไฮเทคที่ทำงานอย่างไม่เคยเหน็ดเหนื่อย, โค้ดคำสั่งที่คิดด้วยตัวเองได้และตอบคำถามได้แทบทุกเรื่อง (ที่พวกเขาอ้างว่ามันจะมาช่วยทำให้โลกกินดีอยู่ดีขึ้น) ความเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้ค่อยเป็นค่อยไปเหมือนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอีกต่อไป หากมันกำลังพุ่งทะยานดังกราฟที่ตั้งชันอย่างน่าตื่นตระหนก และจะชันต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งไม่รู้ว่าจะไปหยุดอยู่ตรงจุดใดในอนาคต

งานชุดนี้นำเสนอภาพชุดที่ผลิตด้วย AI อยู่สองรูปแบบ ภาพขาวดำของชายหญิงที่เปลือยเปล่าอยู่ในตารางสี่เหลี่ยม และภาพของเอกสารที่ถูกขีดฆ่าบางประโยค — ใช่! มันถูกเซ็นเซอร์ออกไป คำถามว่าใครเป็นคนเซ็นเซอร์นั้นเป็นสิ่งที่น่าขบคิด

คอสติสเทียบเคียงเรื่องเหล่านี้กับสิ่งที่ถูกเรียกว่า Tabula หรือ Wax Tablet เป็นแผ่นกระดานชนวนทำด้วยขี้ผึ้งสมัยโรมันโบราณที่สามารถเขียนข้อความลงไปได้ เมื่อใดต้องการที่จะลบออกก็จะให้ความร้อนจนขี้ผึ้งละลายแล้วลูบพื้นผิว สิ่งที่เขียนนั้นจะหายไป มนุษย์เมื่อเกิดมาเป็นเหมือน Tabula rasa หมายถึงกระดานที่ยังไม่ได้เขียนตั้งแต่เริ่มแรก แต่จะถูกเขียนทับลงไปภายหลัง เปรียบดังเช่นการรู้สึกผิดชอบชั่วดี การตระหนักรู้เรื่องต่าง ๆ สวย-ไม่สวย, ดี-ชั่ว, น้อยเนื้อต่ำใจ-ภาคภูมิใจ ฯลฯ ล้วนเกิดจากการนำความเห็นของผู้อื่นเข้ามาเป็นปัจจัยของการเลือกที่จะเป็นในสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น

การพิสูจน์ว่าตนเองเป็นมนุษย์คนหนึ่ง (ไม่ใช่หุ่นยนต์) คือการเขียนลงบนกระดานขี้ผึ้งส่วนตัวในรูปแบบของเราเอง (ปัจจุบันมีการใช้รูปแบบอื่น ๆ เช่น CAPTCHA หรือการเลือกภาพที่ถูกต้องในตารางอันสุดแสนจะปวดหัว ฯลฯ) พวกเรามีเจตจำนงเสรี (free will) ในการเลือกทำหรือเป็นสิ่งใด ๆ หากแต่สิ่งที่คนอื่นคิด สิ่งที่คนอื่นมองเข้ามา เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจของเราอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ดังที่ ฌ็อง-ปอล ซาร์ตร์ (นักปรัชญาสายอัตถิภาวนิยมชาวฝรั่งเศส) กล่าวว่า “นรกคือคนอื่น” ความเห็นจากภายนอกเป็นดังเหล็กแหลมทิ่งแทง เป็นไฟนรกแผดเผาตัวเราจนมอดไหม้ พวกเราไม่ต่างกับการใช้ชีวิตในนรกภูมิเมื่อใช้ความเห็นของผู้อื่นมากำหนดว่า เมื่อไรเราควรสุข เมื่อไรเราควรทุกข์ ราวกับต้องอนุญาตจากเขาเหล่านั้น (ที่สุดจะเอาแต่ใจและแสนวิกลจริต) ก่อนจะทำเรื่องใด ๆ แม้กระทั่งการใช้ชีวิตประจำวัน กิน ขี้ _ นอน, เราต่างนำมันมาอยู่ข้าง ๆ ด้วยตลอดเวลา — นรกจับจ้องพวกเราแบบไม่คลาดสายตา

ภาพเปลือยขาวดำของชายหญิงรูปร่างแตกต่างกันไปที่ถูกสร้างจาก AI หากมองไกล ๆ อาจพาลนึกไปว่าเป็นคนจริง ๆ หากแต่เมื่อดูใกล้ ๆ จะเห็นว่าเป็นภาพที่บกพร่องจากที่เทคโนโลยียังไม่ได้สมบูรณ์มากนัก ซึ่งเป็นอัตลักษณ์อย่างหนึ่งของ AI Generative Image ในยุคแรก แต่ละคนถูกเปล่าเปลือยเปิดเผยอัตลักษณ์ บางภาพหายไป บางภาพเว้าแหว่ง เกิดจากความคิดของเราที่ถูกหลอมด้วยไฟนรกจากความคิดผู้อื่น ตัวตนของเราถูกบีบบังคับให้แสดงสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเองตลอดเวลา เหมือนแม้จะปลดเปลื้องเสื้อผ้าออกก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่านี่คือตัวตนจริงแท้, ตัวเราเองก็อาจไม่ได้เชื่ออย่างสนิทใจด้วยซ้ำ

ภาพเอกสารที่แสดงคู่กันไป (ถูกสร้างจาก AI เช่นกัน) แสดงถึงข้อมูลที่เป็นเหมือนประวัติของเขาเหล่านั้น บทสัมภาษณ์แสดงความเป็นตัวตนขั้นสุด หรือไดอารี่ส่วนตัวที่ห้ามใครมาเปิดอ่าน แต่ก็ยังถูกเซ็นเซอร์ออกไป การขีดฆ่าไม่ได้มาจากใครที่ไหน — พวกเราคือจอมเผด็จการอันแสนอ่อนหัด เป็นพระมหากษัตริย์พระกรรณเบา เฝ้าแต่จะถูกบงการจากเหล่าขุนนางฉ้อฉล ที่ชอบแต่จะเอาประโยชน์ส่วนตน และเรานั่นเองที่ยินยอมให้ความเห็นเหล่านั้นเป็นหอกแหลมทิ่มแทง แม้กระทั่งปลดตัวเองออกจากความเป็นตัวเอง ยอมขีดฆ่าความเห็นอันเสรีส่วนบุคคลออกไป คงเหลือไว้เพียงความเสรีกระจ้อยร่อยที่เราแสนจะภาคภูมิใจว่ามาจากเราเองแทบทั้งหมด (ทั้งที่ลอกเขามาซะส่วนใหญ่) ยอมให้ข้าศึกจากภายนอกเข้ามายึดครอง ทุบทำลาย กำหนดให้เป็นไปตามที่พวกเขาคิด, แน่ล่ะ พวกเราต่างไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ทั้งนิตินัยและพฤตินัย แต่ก็เป็นมนุษย์ที่โดนแทรกแซงจนข้างในเหลือแต่ซากหลอมเหลวด้วยด้วยไฟนรก ไม่ต่างกับ Tabula rasa ที่แสดงภาพของตัวเราและความคิดเห็นบิดเบี้ยวไปจากตอนเริ่มต้น จนแม้กระทั่งตัวเราเองก็ศิโรราบ กราบแทบเท้ายอมรับเรื่องเหล่านี้ไปโดยปริยาย แล้วการเป็นมนุษย์เช่นนี้กับหุ่นยนต์ไร้วิญญาณ มันดีเลวต่างกันกระนั้นหรือ ?

เกี่ยวกับศิลปิน
คอสติส อาร์จิเรียดิส เป็นช่างภาพเกิดในปี 1981 ที่เมืองเทสซาโลนิกี ประเทศกรีซ เขาได้รับทุนการศึกษาเรียนที่ ESP Photography และศึกษาภายใต้การดูแลของสตราโตส คาลาฟาติส ปัจจุบันวิสัยทัศน์ด้านการถ่ายภาพของเขาอยู่ที่ความธรรมดาของชีวิตและรูปแบบเมืองในชีวิตประจำวัน พร้อมทั้งความไร้สาระและไม่สำคัญของความเป็นจริงและการเปลี่ยนแปลงของมัน
kostisargyriadis.com




















"I Am Not A Robot" is a photographic series under the art project named COPIES by the Greek artist, Kostis Argyriadis. This series depicts the loss of human identity due to various converging factors, particularly the rapid advancements in technology that accelerate the dehumanization process. The massive output from various developments, the ease and cruelty of mass production, and the replacement of human labor with tireless high-tech machinery, along with self-thinking codes capable of answering almost any question (which are claimed to improve the world), are all contributing factors. The pace of change is no longer gradual like the Industrial Revolution; instead, it's skyrocketing at an alarming rate, and it's unclear where this steep trajectory will end.

This collection presents two types of AI-generated images: black-and-white photographs of naked men and women confined within square grids, and images of documents with certain sentences crossed out — yes, they've been censored. The question of who is censoring is thought-provoking.

Kostis compares these images to what is known as a Tabula or Wax Tablet, an ancient Roman writing tablet made of wax. You could write on it, and when you wanted to erase, you would apply heat to melt the wax and smooth the surface, erasing what was written. Humans, when born, are like a tabula rasa, a blank slate, waiting to be written upon. This is like our sense of right and wrong, our awareness of beauty and ugliness, good and evil, inferiority and pride, etc. All of these are shaped by the opinions of others that we incorporate into our choices.

Proving that one is human (and not a robot) is like writing on one's own wax tablet in a unique way. We have free will to choose our actions and being, but the thoughts and opinions of others inevitably influence our decisions. As Jean-Paul Sartre said, "Hell is other people." External opinions are like spears piercing, a hellfire that consumes us. When we allow others' opinions to dictate our happiness or sorrow, it's as if we need their permission for everything, even the most mundane tasks like eating, sleeping, f_cking, and shitting. It's as if hell itself is constantly watching over us.

The black-and-white nude images of men and women, each with distinct forms, are AI-generated. From a distance, they might be mistaken for real people, but upon closer inspection, the imperfections reveal the technology's limitations, a characteristic of early AI-generated images. Each individual is naked, their identity exposed. Yet, these identities are often obscured, erased, or fragmented by the fiery furnace of societal expectations that molds our thoughts. We are constantly forced to present a version of ourselves that is not entirely true, as if even by taking our clothes off, we cannot truly reveal our authentic selves. Even we ourselves may not fully believe in the person we present to the world.

The documents (also generated by AI) depict what could be considered their personal histories—intimate interviews or private diaries. Yet, they are still censored. The redactions aren't done by an outside force—we are the crappy dictators, the gullible monarchs, manipulated by our corrupt courtiers. We willingly allow these opinions to pierce us like spears, even going so far as to disown our own authentic selves, censoring our personal freedoms. What remains is a tiny liberty we proudly claim as our own (though mostly borrowed). We allow external forces to invade, destroy, and dictate our thoughts. Of course, we are not robots in law or practice, but we are humans whose insides have been melted down by the fires of external influence, leaving behind little more than a molten husk. We are like a tabula rasa, our self-image and thoughts distorted from their original state, to the point where we passively accept this reality. So, is this kind of humanity really so different from a soulless robot?

About the Artist
Kostis Argyriadis is a photographer born in 1981 in Thessaloniki, Greece. He attended ESP Photography with scholarship. He studied under Stratos Kalafatis. His photography vision currently lies within the triviality of everyday urban and life patterns, alongside with the absurd and inconsequential of reality and the tranformations of it.
kostisargyriadis.com