“คนธรรมดา” (2567) เป็นความสนใจต่อเนื่องมาจากหลาย ๆ งานก่อนหน้าที่ผมหันหน้าเลนส์ไปยังสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับคนในสังคมที่เป็นชนชั้นกลาง (Middle Class) ลงไป ที่ดูจะเป็นคนชนชั้นเดียวกับตัวผมเอง และมีความสืบเนื่องจากความสนใจเรืองการถ่ายภาพข้างถนน (Street Photography) เป็นทุนเดิม ที่เห็นได้ชัดว่าการถ่ายภาพแนวนี้ส่วนหนึ่งมุ่งความสนใจไปยังคนทั่วไปที่มาใช้ชีวิตกันในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นงานที่ชื่อ Lottery Prizes (2016) ที่เก็บภาพคนขายลอตเตอรี่, Thainess Objects (2016) บันทึกภาพวัตถุสิ่งของต่าง ๆ ที่แสดงออกถึงความเป็น “ไทยไทย” หรืองานที่สะท้อนถึงคนธรรมดากับสิ่งก่อสร้างที่ถูกทำขึ้นมาเพื่อเชื่อมโยงไปถึงอำนาจที่ใหญ่กว่าพวกเขา เช่น Landlords (2018) และ Looking Through the Absolute (2021-2022)
ในช่วงเวลาที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มเข้ามาในแวดวงภาพถ่าย งานต่าง ๆ ที่มีคนทำขึ้นมานั้นมีความแปลกใหม่มาก ผู้คนตื่นเต้นที่จะได้ทำอะไร ๆ ที่เมื่อก่อนไม่มีทางทำได้ และทำออกมาง่ายมากกว่ากดปุ่มชัตเตอร์ งานภาพจาก AI จึงหวือหวา และตอบสนองต่อความต้องการในสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งก็ดูไม่ได้ต่างกับงานภาพถ่ายเมื่อก่อนนักที่ต้อง สวยขึ้น แปลกขึ้น ยากขึ้น เมื่อมี AI เข้ามาเป็นผู้เล่นใหม่ วังวนนี้ก็กลับมาเช่นเดิม ในการใช้เป็นบันไดไต่ขึ้นไปให้ถึงจุดยอดของภูเขา
งานชุดนี้มองย้อนกลับไปยังต้นทางของระบบที่บรรจุ และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมายที่มนุษย์จับใส่เข้าไปให้ ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพถ่าย ประวัติศาสตร์สาธารณะ ประวัติส่วนตัวของคนในสังคม ฯลฯ เพื่อเอาไปผลิตเป็นผลลัพธ์ที่แปลกประหลาด และสมจริงมากจนน่าสงสัยถึงกระบวนการการทำงานของ AI, งานนี้มีกลิ่นอายความเรียบง่าย และธรรมดาขั้นสุดอย่างงานของ Joseph Kosuth และ Thomas Ruff ที่เป็นงานศิลปะเชิงความคิด (Conceptual Art) มีภาพถ่ายเป็นตัวกลางทางศิลปะ หากงานนี้โยกย้ายขั้นตอนกระบวนการจากเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ ไปเป็นเลนส์ของ AI รวมถึงข้อความที่ถูกค้นคว้า ก็ถูกเขียนขึ้นมาโดยพวกเขา (AI) ทั้งสิ้น
ด้วยการค้นหาภาพถ่ายของบุคคลธรรมดาต่าง ๆ ใน AI โดยใช้คำสั่ง (Prompt) ที่แสนเรียบง่าย ทำให้ได้ภาพที่เหมือนภาพติดบัตรออกมาจากหลาย ๆ พื้นที่ของโลก หลากหลายวัฒนธรรม ภาพเหล่านั้นเหมือนคนปกติธรรมดาจนน่าขนลุก มันดูไม่ต่างกับ AI ไปหยิบภาพของใครสักคนออกมาจากลิ้นชักโดยที่แทบไม่ได้แตะต้อง หรือแก้ไขสิ่งใด เป็นเหมือนคนที่มีอยู่ในฐานข้อมูลอยู่ก่อนแล้ว และไม่แน่ว่าอาจจะมีข้อมูลผูกติดอยู่ ภาพเหล่านี้ถูกแปลงเป็นข้อความตัวหนังสือด้วย AI แล้วใส่กลับเข้าไปในระบบอีกครั้งเพื่อสืบค้นว่าเจ้าของภาพเหล่านี้เป็นใคร มาจากไหน และมีชีวิตเช่นไรในโลกของพวกเขา สิ่งที่ได้กลับออกมามีความสงบสุขสวยงามมากเกินปกติ เหมือน AI กำลังสร้างโลกพระศรีอาริย์ในระบบดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นการมองโลกในแง่ดี ชีวิตที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แสวงหาโลกที่ไร้ความขัดแย้ง ประหนึ่งถูกปิดกั้นจากระบบ ให้ผู้คนในนั้นคิดอะไรด้านเดียว ขาดความหลากหลายทางความคิดอย่างสุดโต่ง และดูแปลกประหลาดเหนือจริง ไม่ต่างกับประเทศ ๆ หนึ่งที่ผู้คนโดนล้างสมองให้เชื่อความถูกต้องดีงามที่ออกมาจากนโยบายของผู้ปกครองสูงสุด
มานิต ศรีวานิชภูมิ ให้ความเห็นที่น่าสนใจว่า เรื่องแบบนี้อาจมีอะไรเบื้องหลังที่ไม่อยากให้คนทั่วไประแคะระคายว่า เหล่าผู้มีอำนาจกำลังทำอะไรลับ ๆ อยู่ โดยให้ AI สร้างข้อมูลที่สนุกสนาน ดีงาม ออกมาเป็นหน้าฉากให้พวกเราใช้กัน แล้วพวกเขาก็ใช้พลังของ AI ไปทำเรื่องที่ไม่ถูกต้องต่าง ๆ ซึ่งที่จริงแล้วเรื่องแบบนี้มีมาตลอดเวลาของมนุษย์ชาติ อาทิ การถูกเซ็นเซอร์ การโฆษณาชวนเชื่อ หรือการส่งเสริมงานศิลปะบางประเภทเพื่อหลีกหนีปัญหาทางสังคม และอีกมากมายหลายเรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ก็เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นใหม่ที่ทรงพลังมากขึ้น และเหมาะมือกับการนำมาใช้ในเรื่องเหล่านี้เท่านั้นเอง คนธรรมดาเหล่านี้ดูจะเป็นภาพสะท้อนย้อนกลับมายังพวกเราที่อาศัยอยู่ในโลกของความจริง ที่ชีวิตไม่น่าจะต่างจากพวกเขาเท่าใดนัก
"คนธรรมดา"
นิทรรศการเดี่ยวโดย อัครา นักทำนา
ภัณฑารักษ์ : อภิรักษ์ วิชัยเจริญ
คัดมันดู โฟโต้ แกลลอรี่
(เปิดเฉพาะวันอังคาร, พฤหัสบดี, และเสาร์) :
แผนที่
ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม - 14 กันยายน 2567
[เปิดงาน เสาร์ที่ 27 กรกฎาคม 18.30 - 21.00 น.]
"Ordinary People" (2024) is a continuation of my previous works, where I turned the lens towards various events and aspects of middle-class society and below. These people seem to belong to the same social class as myself. My interest in street photography is evident, focusing on everyday people living their lives in public spaces. This can be seen in works like "Lottery Prizes" (2016), which captures lottery ticket sellers, "Thai Objects" (2016), which photographs items representing "Thainess," or works reflecting ordinary people against constructions symbolizing higher powers, such as "Landlords" (2018) and "Looking Through the Absolute" (2021-2022).
In the era where artificial intelligence (AI) is making its way into the realm of photography, there is a surge of novel works. People are excited to do things that were previously impossible, and the process has become as simple as pressing a button. AI-generated images are often flashy, catering to the demands of online society, much like traditional photography, which aimed to be more beautiful, unique, and challenging. With AI as a new player, this cycle is recurring, using it as a stepping stone to reach the peak of creative expression.
This photographic work reflects on the origins of the systems that learn from human inputs, whether paintings, photographs, history, or personal stories, to produce bizarrely realistic results. This work has a sense of simplicity and extreme ordinariness, similar to the conceptual art of Joseph Kosuth and Thomas Ruff. It uses photography as an artistic medium. However, it shifts the process from the camera lens to the lens of AI, with the researched text also written entirely by the machine.
By searching for photos of ordinary people using simple prompts, I got images resembling ID photos from various parts of the world and cultures. These images were eerily normal, as if AI had pulled them from a drawer without altering anything, suggesting the existence of pre-existing data. I translated these images into text and fed them back into AI to investigate the identities, origins, and lives of these individuals. The results were unusually serene and beautiful, as if AI were creating a utopian digital world, characterized by optimism, mutual support, and a conflict-free existence. This seemed like a system-imposed, one-sided thinking, devoid of diversity and strangely surreal, akin to a nation where people are brainwashed to believe in the supreme ruler's policies.
Manit Sriwanichpoom interestingly noted that there might be hidden agendas behind such phenomena. Those in power might be using AI to create a facade of fun and goodness for the public while using AI for dubious purposes. This isn't new in human history, with examples like censorship, propaganda, or promoting certain types of art to divert from social issues. AI appears to be a powerful new tool for these purposes, reflecting back on us, the ordinary people, living in the real world, whose lives might not be so different from those AI-generated people.
"Ordinary People"
A solo exhibition by Akkara Naktamna
Curator : Apirak Wichaicharoen
Kathmandu Photo Gallery
(Only Tue, Thu, and Sat) :
Map
Between 27 July - 14 September 2024
[Opening Sat 27 July 6.30 - 9.00 PM]
เกี่ยวกับศิลปิน
อัครา นักทำนา เป็นศิลปินภาพถ่ายและภัณฑารักษ์ งานของเขาคือการสำรวจความเป็นไปของสังคมร่วมสมัย ศิลปะ เทคโนโลยี อัคราเคยร่วมแสดงงานภาพถ่ายในหลายเทศกาล และในการเป็นภัณฑารักษ์ เขาได้คัดเลือกผลงานภาพถ่ายไปจัดแสดงหลายครั้ง เช่น Interpreters ที่ MOCA, Photography Never Lies ที่ BACC ฯลฯ นิทรรศการครั้งนี้เป็นการแสดงเดี่ยวที่คัดมันดูโฟโต้แกลลอรี่ครั้งที่สาม
เกี่ยวกับภัณฑารักษ์
อภิรักษ์ วิชัยเจริญ เกิดที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เมื่อปี 2515, ปริญญาตรี สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ, ปริญญาโท สาขาการจัดการพิพิธภัณฑ์และการอนุรักษ์ศิลปะ เป็นภัณฑารักษ์และนักเขียนที่ได้รับการยอมรับในวงการศิลปะและวัฒนธรรม ด้วยความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการอนุรักษ์ศิลปะ เขาได้ทำงานร่วมกับศิลปินและนักวิจัยหลายคนเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่นำเสนอความคิดและมุมมองใหม่ๆ ในการตีความศิลปะและวัฒนธรรม เขาเขียนบทความเชิงวิชาการหลายเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ศิลปะและการใช้เทคโนโลยีในการจัดการพิพิธภัณฑ์ และเป็นวิทยากรด้านการจัดการศิลปะในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง
About the Artist
Akkara Naktamna, a photo artist and curator, explores contemporary social changes, art, and technology. His photography has been featured in numerous festivals, and as a curator, he has selected photographic works for various exhibitions, including "Interpreters" at MOCA and "Photography Never Lies" at BACC. This exhibition marks his third solo show at Kathmandu Photo Gallery.
About the Curator
Apirak Wichaicharoen, born in 1972 in Bangkok, Thailand, holds a bachelor's degree in art history and a master's degree in museum management and art conservation. He is a recognized curator and writer in the fields of art and culture. With expertise in integrating technology with art conservation, he has collaborated with many artists and researchers to present innovative interpretations of art and culture. He has authored numerous academic articles on art conservation and the use of technology in museum management and serves as a lecturer on art management at various educational institutions.