ในปัจจุบัน "โรคซึมเศร้า" กลายเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่กําลังเผชิญอยู่รวมถึงตัวผมเองผู้ป่วยจะมีอาการทั้งทางร่างกายจิตใจและความคิด ซี่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมองผู้ป่วยจะรู้สึกหดหู่ไม่มีความสุขเบื่อหน่ายไม่สนุกสนานกับชีวิต กินไม่ได้นอนไม่หลับและอาจส่งผลเสียถึงการใช้ชีวิตประจําวัน โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบําบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจส่งผลเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ามากๆเท่านั้น และยังไม่ชัดเจนว่าส่งผลต่อการเสี่ยงฆ่าตัวตายหรือไม่ ผมเองเคยได้รับการการรักษาด้วยวิธีการทานยา แต่ผมรู้สึกว่ามันไม่ได้ผลกับผมเท่าไหร่ อาจเป็นเพราะผมยังไม่ซึมเศร้ามากพอ หรืออะไรก็ไม่ทราบได้แต่ผมรู้สึกแย่ลงไปมากขึ้นทุกทีผมแค่อยากหายจากการเป็นแบบนี้ ผมเริ่มสนใจการบําบัดในแนวทางที่แตกต่างออกไป จนผมไปเจอเข้ากับงานวิจัยที่น่าสนใจ
"แสงบําบัด "การที่ร่างกายของเราไม่ได้รับแสงแแดดในตอนเช้าส่งผลให้เป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นกัน การออกมารับแสงแดดในตอนเช้าจะทําให้อารมณ์แจ่มใส กระปรี้กระเปร่า นอกจากแสงแล้วยังมีสีที่สามารถช่วยในการบําบัด นักจิตวิทยาได้นําพลังของสีมาปรับใช้กับผู้ป่วยมากมาย "สีบําบัด" ในสีแต่ละสีเราจะมีปฎิกิริยาในการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไปซึ่งจะส่งผลต่อจิตใจฮอร์โมนและอารมณ์ในร่างกายของเรา ผมนึกถึงอะไรบางอย่างหลังจากได้อ่านเรื่องนี้อะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งที่ผมชื่นชอบและมันเกี่ยวข้องกับแสงเช่นกัน สิ่งนั้นคือ การถ่ายภาพ "แสงและสี" เชื่อมโยงเข้ากับการ"ถ่ายภาพ"ได้เป็นอย่างดี ผมสนใจที่จะทดลองใช้แสง,สีและการถ่ายภาพ ในการบําบัดโรคซึมเศร้าของตัวผมเอง โดยผมจินตนาการว่าตัวเองเป็นจิตรกร ที่ออกไปวาดภาพลงบนกระดาษกลางทุ่งที่โล่งกว้างหรือท้องทะเลที่สวยงาม ต่างกันเพียงแค่ ผมเปลี่ยนจากพู่กันเป็นกล้องและวาดภาพมันด้วยแสง
Jirawat Tunprasert
ปัจจุบันอายุ 25 ปี เกิดและเติบโตในจังหวัดพิษณุโลก จบการศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ สาขาศิลปะการถ่ายภาพ มีความชอบและสนใจในการถ่ายภาพ และศิลปะ เคยได้รับ โอกาสเข้าร่วมแสดงนิทรรศการกลุ่มในประเทศไทยและต่างประเทศ ปัจจุบันเป็นคุณพ่อ ลูกหนึ่ง แม้จะไม่ค่อยมีเวลา แต่ก็ยังได้ติดตามผลงานภาพถ่ายอยู่บ้างและมีโอกาส ถ่ายรูปอยู่บ้าง คิดว่าคงเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเหมือนการจดไดอารี่ของตัวเองไปแล้ว แต่เป็น การจดผ่านภาพถ่าย มีความสนใจและชอบในงานเชิงทดลองและคอนเซป เป็นคนชอบสี แสงและเงา
FB :
JT Tunprasert
IG:
dropAscene